วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 5



การเรียนการสอนครั้งที่ 5


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ welcome gif
วันอังคาร ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2561

    การเรียนการสอนในวันนี้อ.บาสได้พาเราเข้าสู่เนื้อหาใน บทที่4 กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ 

บทที่4 กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ 



    การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ และมีพฤติกรรมอย่างง่ายๆ ครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นนี้ได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่าง ๆ

เกม (Games)
    สำหรับเกมในทรรศนะของนักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และพึงพอใจ และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ

จุดมุ่งหมายของการเล่นเกม
     1. ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
     2. พัฒนานิสัยการเล่นที่ดีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
     3. ฝึกท่าทางให้มีสุขภาพและรูปทรงสวยงาม
     4. เร้าประสาทรับรู้ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
     5. สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง
     6. ฝึกความร่วมมือในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม

เกมการเล่น
     1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
     2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว
     3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
     4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม
     5. เกมช่วยพัฒนาด้านการรับรู้ การคิด การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ

แนวคิดการจัดเกม
1 .เกณฑ์การเลือกเกม
2. การวางแผนการเล่นเกม
3. วิธีดำเนินการให้เด็กเล่นเกม
4. การสอนเกมลักษณะต่างๆ
    
เกมการศึกษา
    หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมโดยเป็นการเล่นที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเกมบัตรภาพ แต่เป็นเกมหลายรูปแบบที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้แก่ ด้านภาษา คณิตศาสตร์ เหตุผล มิติสัมพันธ์ ประสาทสัมผัสการับรู้และการจำ ตอลดจนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

    เกมการศึกษา (Didactic of Cognitive Game) สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นกิจกรรมการเล่นตามแนวทฤษฏี (The Cognitive Theory of play) เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการฝึกทักษะ เพราะจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมีการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี
เกมการศึกษา (Didactic of Cognitive Game)สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นกิจกรรมการเล่นตามแนวทฤษฏี (The Cognitive Theory of play) เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการฝึกทักษะ เพราะจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมีการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี

วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา
    สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (2537, หน้า 129)
1. เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและการจำแนกด้วยสายตา
2. เพื่อฝึกการคิดหาเหตุผล
3. เพื่อฝึกการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
4. เพื่อฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
5. เพื่อฝึกให้มีคุณธรรมต่าง ๆ
6. เพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว

ประเภทของเกมการศึกษา
1. เกมการจับคู่
2. เกมการจัดหมวดหมู่
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง
5. เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน
6. เกมตารางสัมพันธ์
7. เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
8. เกมลอตโต

หลักการใช้เกมการศึกษา
    การใช้เกมการศึกษาควรลำดับเกมตามความสามารถ เริ่มจากสิ่งที่ไม่ละเอียดนักเพราะเด็กจะสังเกตสิ่งที่ใหญ่ก่อน เมื่อเด็กมีความสังเกตจดจำมากแล้ว จึงจะให้เด็กได้สังเกตส่วนย่อย ๆ หรือส่วนละเอียดมากขึ้นตามลำดับ

ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
    เกมการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยถ่ายทอด นำความรู้ ประสบการณ์ด้านการเรียนสู่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเลือกใช้เกมการศึกษาเป็นเรื่องประณีตละเอียดอ่อน
     1. ไม่จำเป็นต้องมีการตระเตรียมกันมาล่วงหน้า หรือถ้ามีก็ควรให้น้อยที่สุด
     2. เป็นเกมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และมีลักษณะท้าทายความสามารถของเด็ก
     3. มีคำสั่งและกติกาในการเล่นชัดเจน
     4. เป็นเกมสั้น ๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที
     5. เป็นเกมที่ให้ทั้งความสนุกสนาน ร่าเริง แลได้รับความรู้หรือทักษะ
     6. เป็นเกมที่ไม่ทำให้เสียวินัยในห้องเรียน
     7. เป็นเกมที่เล่นเป็นทีม หรือเป็นเกมที่ไม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับผู้ชนะ
     8. เป็นเกมที่เด็กได้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายบ่างตามสมควร
     9. ถ้าเป็นการแข่งขัน ควรที่จะง่ายในการตรวจสอบและการตัดสินใจให้คะแนน
    10. ควรใช้อุปกรณ์ที่สามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้ง่าย ๆ


ประโยชน์ของเกมการศึกษา
    เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน สามารถทำ ให้เด็กที่เรียนอ่อนหรือเรียนช้าพัฒนาการเรียนดีขึ้นช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหา และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว เด็กยังมีโอกาสแสวงหาความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองนับว่าเกมการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่มีความจำ

ลักษณะสื่อ 

1. เกมจับคู่ 


    เป็นการจัดของคู่ ๆ ตามจุดมุ่งหมายของเกมแต่ละชุดๆ ละตั้งแต่ 5 คู่ขึ้นไป อาจเป็นการจับคู่ภาพ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆก็ได้ เกมประเภทนี้สามารถจัดได้หลายชนิด ได้แก่
     1. การจับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
     2. การจับคู่สิ่งที่เป็นประเภทเดียวกัน
     3. การจับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
     4. การจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์แบบตรงกันข้าม
     5. การจับคู่ภาพเต็มกับภาพชิ้นส่วนที่หายไป
     6. การจับคู่ภาพที่ซ้อนกัน
     7. การจับคู่ภาพที่เป็นส่วนตัดกับภาพใหญ่
     8. การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่สีต่างกัน
     9. การจับคู่สีเหมือนกันแต่ของต่างกัน
     10. การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่ขนาดต่างกัน
     11. การจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน
     12. การจับคู่ภาพที่เสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน
     13. การจับคู่แบบอุปมาอุปไมย
     14. การจับคู่แบบอนุกรม


2. เกมภาพตัดต่อ


 1. ภาพตัดต่อเกี่ยวกับ คน สัตว์ พืช ผัก ผลไม้ดอกไม้ สิ่งของ พาหนะ ตัวเลข ค่าของจำนวน
 2. ภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการสอน


3. เกมการวางภาพต่อปลาย (โดมิโน)



1. โดมิโน ภาพเหมือน
2. เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์


4. เกมเรียงลำดับ



    เกมประเภทนี้มีลักษณะเป็นภาพสิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์ ตั้งแต่ 3 ภาพขึ้นไป
1. การเรียงลำดับภาพและเหตุการณ์ต่อเนื่อง
2. การเรียงลำดับ ขนาด ความยาว ปริมาณปริมาตร จำนวน


5. เกมจัดหมวดหมู่



     เกมประเภทนี้มีลักษณะเป็นแผ่ภาพ หรือของจริงประเภทสิ่งของต่างๆ
1. ภาพสิ่งต่าง ๆ ที่นำมาจัดเป็นพวก ๆ ตามความคิดของเด็ก ที่มีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป
2. วัสดุของจริง ซึ่งอาจมีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป

6. เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์


7. เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด


8. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต)


9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย

 

10. เกมพื้นฐานการบวก

11. เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)

ประเมินอาจารย์ : อ.บาสเป็นอ.ที่น่ารักมากค่ะ นอกจากเป็นอ.แล้วยังเป็นดีเจได้อีกด้วย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อ ทำไปเล่นไป แกล้งกันไป ขอเพลงกับอ.ไป ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน

ประเมินตัวเอง : ส่วนตัวตั้งใจทำงานมากค่ะ และสนุกสนานไปกับการทำสื่อ

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้ง 4





วันอังคาร ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2561

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ welcome gif


 การเรียนการสอนวันนี้ อ.บาสได้ให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ออกมานำเสนอต่อ




 หลังจากนั้นอ.บาสก็ให้นำสื่อที่นักศึกษาแต่ละคนเอามา จากนั้นก็จับกลุ่ม 5 คน ทำใบงานของตัวเอง วาดรูปสื่อทั้ง5ลงใน A4 และเลือกสื่อที่ดีที่สุดของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเพื่อนๆหน้าชั้นเรียน




หลังจากนำเสนอสื่อเสร็จแล้วนั้น อ.บาสก็ให้นักศึกษาเอาอุปกรณ์ที่ให้เตรียมมา นั่นคือ ตะเกียบ และสอนนักศึกษาทำสื่อชิ้นที่1 จะรูปร่างเป็นอย่างไร รอดูได้ในใน Blog หน้านะคะ

ประเมินอาจารย์ : อ.บาสสอนสื่อให้นักศึกษาทำ และหากิจกรรมเข้าเนื้อหาได้สนุกมากค่ะ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือ และนำอุปกรณ์กันมาครบ

ประเมินตัวเอง : ตั้งใจหาสื่อและตั้งใจทำสื่อมากๆค่ะ

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 3

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ welcome gif
บทที่ 2
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย



ความหมายและความสำคัญของสื่อ
    สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยมหรือทักษะที่ตนมีไปสู้เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและเด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายได้ดีที่ดุด

สื่อการเรียนรู้
    ชอร์ส เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่นหนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์วิทยุสไลด์ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
    ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความสำคัญของสื่อ
    😻 เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
    😻 เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์เครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วยความสนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็น “การเรียน”
    😻 เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และได้เรียนรู้ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จดจำได้นาน
    😻 สื่อเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดสื่อจะช่วยทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมที่เด็กเข้าใจยาก มาสู่รูปธรรมที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น สื่อจะช่วยให้เรียนได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน รวดเร็ว และจำได้แม่นยำ


การเลือกสื่อ
     😻 เพลง
     😻 เครื่องดนตรีเครื่องดนตรีที่ใช้มือเล่นทั้งสองข้าง
     😻 หนังสือ


ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น 2 ลักษณะ
      1. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน
      2. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน สภาพแวดล้อมต่าง

ดร.ชัยวงศ์ พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
    1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สไสด์ เป็นต้น
    2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งได้แก่ เครื่องเสียง เช่น เครื่องรับวิทยุและเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง กับอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ทั้งเครื่องเสียงและเครื่องฉาย เช่น กระดานดำ ม้าหมุน และกระดานหก
    3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ หรือกระบวนการ ได้แก่ การจัดระบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ครูจัดทำขึ้นแต่มุ่งให้นักเรียนเข้ามีส่วนในการปฏิบัติ เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การจัดสถานการณ์จำลอง และการจัดศูนย์การเรียน เป็นต้น
    แม้ว่าสื่อทั้ง 3 ประเภทจะเป็นสื่อการสอนที่ช่วยให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม ที่ครูมีไปสู่ เด็กได้ แต่การใช้สื่อเหล่านี้กับเด็กปฐมวัยให้ได้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเลือกให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระของการสอน ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องให้เหมาะกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัยด้วย เช่น
    😻 ลักษณะทางกาย
          เด็กปฐมวัย มีร่างกายที่แข็งแรงกว่าเด็กทารกแต่ไม่แข็งแรงเท่าเด็กประถมหรือมัธยม การเลือกใช้สื่อควรเป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น แต่ไม่ควรออกแรงมากเกินไป
    😻 ลักษณะทางอารมณ์
          เด็กปฐมวัยมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่รู้จักสะกดกลั้นอารมณ์ของตนเอง หรือควบคุมพฤติกรรม ควรหาสื่อที่เป็นรูปภาพหรือนิทานสอนใจเพื่อให้เด็กเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการสะกดกลั้นอารมณ์
    😻 ลักษณะทางสังคม
          สังคมของเด็กวัยนี้ยังอยู่ในสังคมวงแคบ เด็กเริ่มรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนแปลกหน้าจำนวนมาก สื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้เด็กอยู่ร่วมกัน รู้จักความร่วมมือแก่กันและมีความรับผิดชอบร่วมกัน เช่น สื่อประเภทกระดานหก ที่ต้องใช้ผู้เล่นอย่างน้อย 2 คน ถึงจะเล่นได้
    😻 ลักษณะทางสติปัญญา
          ลักษณะทางสติปัญญาของเด็กวัยนี้ ส่วนใหญ่กำลังสร้างจินตนาการและมีความคิดหรือเหตุผลในเชิงรูปธรรมมากกว่านามธรรม ครูควรใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมชัดเจน กระตุ้นให้เด็กรู้จักจินตนาการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม


ความหมายและความสำคัญของการเล่นของเด็กปฐมวัย
    😻 เด็กแรกเกิดถึง 1 ขวบ เด็กวัยนี้จะเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเป็นลำดับ นับจากเริ่มจ้องมองสิ่งของ เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายไขว่คว้า ฝึกคืบคลาน กระทั่งตั้งไข่เกาะยืนและพยายามจะหัดเดินด้วยตนเองและหัดใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบของชิ้นเล็กๆ
    😻 วัย 1 - 2 ขวบ วัยนี้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เด็กจะไม่หยุดนิ่งแต่จะปีนโน่นป่ายนี่อยู่ไม่หยุดและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น ซุกซนเพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ต้องคอยช่วยเหลือใกล้ชิดโดยเฉพาะคอยระวังเรื่องอุบัติเหตุต่างๆ
    😻 วัย 2 – 3 ขวบ ช่วงนี้เด็กจะเริ่มสนใจที่จะเล่นกับเด็กอื่นๆและสามารถเล่นด้วยกันได้นาน ขณะเดียวกันเด็กวัยนี้เป็นวัยที่รู้จักโลกกว้างขวางขึ้น เด็กต้องการค้นพบสิ่งใหม่เป็นวัยของความเป็นตัวเอง
    😻 วัย 3 - 4 ขวบ เด็กวัยนี้เริ่มมองโลกกว้างมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้นการได้ทำ กิจกรรมต่าง ๆ จะทำ ให้เด็กมองเห็นความสามารถของตนเองว่าเหมือนผู้ใหญ่จะทำให้เด็กเกิดความภูมิใจในตนเอง
    😻 วัย 4 - 5 ขวบ เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นเป็นของตนเองมีความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กวัยนี้จะเข้าใจภาษามากขึ้น กำลังฝึกการพูดเป็นประโยคยาวๆ เด็กสามารถช่วยตนเองได้ทุกอย่าง
    😻 วัย 5 - 6 ขวบ เด็กวัยนี้ชอบเล่นของเล่นที่ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งต่าง ๆ ชอบเล่นเลียนแบบชีวิตของผู้ใหญ่ชอบเล่นตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ชอบเล่นใช้กำลัง


การเล่นของเด็กปฐมวัย
1. ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น
    การเล่นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเล่นจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะด้านร่างกายและสังคม มีความเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต และเพื่อให้เด็กได้รู้จักกฎ กติกาของการเล่น สอนให้เด็กได้เล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีความสุขฝึกฝนการใช้ภาษา การจัดการศึกษาปฐมวัยที่เอื้อให้เด็กเล่น จึงเป็นการที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านอย่างแท้จริง
2.คุณลักษณะของสื่อสร้างสรรค์และการเล่น
    😻 สอดคล้องกับหลักสูตร แผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อม
    😻 เน้นให้เด็กได้ใช้สื่อและเล่นร่วมกัน เพื่อพัฒนาด้านสังคม
    😻 เหมาะสมกับวัยและความสามารถและความสนใจของเด็ก
3.ประเภทของสื่อสร้างสรรค์และเครื่องเล่น
    😻 บล็อก
    😻 เครื่องเล่นสัมผัส
    😻 เกมการศึกษา
    😻 ชุดฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
    😻 หนังสือภาพนิทาน
    😻 หุ่นต่างๆ
    😻 ศิลปะสร้างสรรค์
    😻 ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
    😻 เพลงและดนตรี
    😻 เล่นบทบาทสมมติหรือเลียนแบบชีวิตจริง
4.ประโยชน์ของการเล่น
    การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น ด้านร่างกาย จะช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์เพิ่มทักษะ การใช้กล้ามเนื้อต่างๆ ด้านอารมณ์จะช่วยให้เด็กเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน สนุกสนาน ด้านสังคมจะช่วยเสริมสร้างให้เด็ก เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก สามารถร่วมเล่นกับเพื่อนได้อย่างสร้างสรรค์และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
5.วิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็กปฐมวัย
    😻 จัดหาสถานที่อุปกรณ์การเล่นที่เหมาะสมแก่วัยของเด็ก
    😻 ปล่อยให้เด็กเล่นอย่างอิสระตามความคิดและจินตนาการ
    😻 กระตุ้น ชี้แจง หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆให้กับเด็ก
    😻 กล่าวคำชม
    😻 ผู้ใหญ่ควรช่างสังเกตและจดจำเกี่ยวกับการเล่นของเด็กเมื่อพบว่าเด็กสนใจในสิ่งใดเป็นพิเศษควรส่งเสริมความสนใจนั้นๆ


ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
     1. ความคิดริเริ่ม (Originality) เป็นลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากควาลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดธรรมดา หรือความคิดง่าย ๆ จากความคิดริเริ่ม พฤติกรรมด้านความคิดริเริ่มสำหรับเด็กปฐมวัย
        ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดริเริ่ม สรุปจากการศึกษาค้นคว้าก็พบว่าคนที่มีความคิดริเริ่มมักไม่ชอบความจำเจ ซ้ำซาก แต่จะชอบปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้งานของเขามีชีวิตชีวา และมีความแปลกใหม่กว่าเดิม
     2. ความคิดคล่องตัว (Fluency) ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น
    😻 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
    😻ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency)
    😻ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
    😻ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency)
     3. ความคิดยืดหยุ่นหรือความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility)
    😻ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility)
    😻ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility)
     4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) พัฒนาการของความละเอียดละออจะขึ้นอยู่กับอายุ กล่าวคือ เด็กที่มีอายุมากจะมีความสามารถด้านนี้มากกว่าเด็กอายุน้อย โดยเด็กหญิงจะมีความสามารถมากกว่าเด็กชายในด้านความละเอียดละออ และเด็กที่มีความสามารถสูงทางด้านความละเอียดละออจะเป็นเด็กที่มีความสามารถทางด้านการสังเกตสูงด้วย
            นอกจากนี้คุณครูปฐมวัยมีหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยลักษณะโดยทั่วไป หลักสูตรและวิธีสอน แลวิธีการสอนของครูแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัย

ประโยชน์ของสื่อสร้างสรรค์
1. หลักการเลือกสื่อสร้างสรรค์ ควรคำนึงถึง
    😻 ประโยชน์
    😻 ประหยัด
    😻 ประสิทธิภาพ
2. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์
3. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์ที่ส่งผลผู้สอน


การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
    เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากรูปธรรมไปหานามธรรม โดยผ่านการเล่นด้วยประสาทสัมผัสทั่ง 5 ครูผู้สอนเด็กปฐมวัยต้องมีใจรักเด็กอย่างจริงใจ อย่าเสแสร้ง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการเป็นของตนเอง เล่นร่วมกับเพื่อนทุกคนได้อย่างมีความสุข
1.การเรียนรู้เด็กปฐมวัยด้วยองค์ความรู้ด้านสมอง และทฤษฏีพหุปัญญา
    😻 ปัญญาทางด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
    😻 ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์(Logical Mathematical Intelligence)
    😻 ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
    😻 ปัญญาด้านดนตรี(Music Intelligence)
    😻 ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial Intelligence)
    😻 ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Interpersonal Intelligence)
    😻 ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์(Intrapersonal Intelligence)
    😻 ปัญญาทางด้านความสัมพันธ์กับธรรมชาติ(Naturalist Intelligence)
2. ทฤษฎีทางพหุปัญญา (Mi Theory)
    😻 ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้านจากการศึกษาเรื่องสมอง
    😻 ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้าน
    😻 ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญา
    😻 ปัญญาต่างๆ สามารถทำงานร่วมกัน
    😻 ปัญญาแต่ละด้านจะมีการแสดงความสามารถหลายทาง
3. ความสุข
    สิ่งที่ทุกคนปรารถนาเฝ้าเสาะแสวงหา ไขว่คว้า พากเพียรพยายามที่จะให้ตัวเอง และผู้เป็นที่รักได้พบได้ครอบครอง พ่อแม่อยากให้ลูกมีความสุข ครูอาจารย์ก็อยากเห็นลูกศิษย์ของตนร่าเริง แจ่มใส และมีความสุข
4. การประยุกต์กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
    การพัฒนาให้เด็กเป็นคนที่เก่ง ดีและมีความสุข โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) และกระบวนการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Evaluation)
5. การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)
    การเรียนรู้แบบลงมือในการกระทำจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดใน (Hohmannand Weikart,1995) โดยมีวิธีการดังนี้
    😻 การเลือกและตัดสินใจ
    😻 สื่อ
    😻 การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
    😻 ภาษาจากเด็ก
    😻 การสนับสนุนจากผู้ใหญ่




    การใช้สื่อสร้างสรรค์หมายถึงสื่อการสอนที่ดีที่สามารถถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี
    และการสอนสำหรับเด็ก ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจของเด็กปฐมวัยอีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

* ข้อมูลที่ได้นำมาจาก https://namphetchpiyakong19.blogspot.com/2018/08/2.html *

ประเมินอาจารย์ : อ.บาสสอนสนุกและเข้าใจง่ายมาก ในเรื่องของการติชมการนำเสนอของนักศึกษา อ.บาสติชมนักศึกษาได้ดีมาก สามารถนำไปปรับใช้กับการนำเสนอในครั้งอื่นได้ๆ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเนื้อหาที่อ.บาสได้สอน แล้วตั้งใจเตรียมตัวมานำเสนอ ตั้งใจสิ่งที่เพื่อนคนอื่นนำเสนอ

ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังในสิ่งที่อ.บาสสอนค่ะ ให้ความร่วมมือในการเรียน และตั้งใจนำเสนอบทความที่ได้ศึกษาค้นคว้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ see you soon gif