วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561
การเรียนการสอนในครั้งนี้เริ่มเวลา 9.00น. พอนักศึกษาเข้ามาภายในห้องเรียนแล้ว อ.บาสสอนอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันเวลานักศึกษาต้องไปเรียนคาบต่อไป เป็น70กว่าสไลด์ที่เข้าใจง่ายและรวดเร็วมาก
(2.1 บรรยากาศในการเรียนการสอน)
บทที่ 1
ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
รรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
วัยเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการอบรมเลี้ยงดูควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญ เพราะเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญที่สุด ต่อการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์ เป็นวัยแห่งการก่อเกิดพื้นฐานด้านบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย ความสามารถทางสติปัญญา และความสามารถด้านต่าง ๆ การเข้าใจธรรมชาติและการเรียนรู้
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
1. ลักษณะของการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
2. มีความสามารถในขอบเขตจำกัดและแตกต่างกัน
3. ต้องการการเอาใจใส่ดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
4. เป็นวัยที่ชอบอิสระ
5. ชอบแสดงออกและต้องการการยอมรับ
6. ชอบเล่น
7. มีช่วงความสนใจสั้น เด็กปฐมวัย มีธรรมชาติต่างกัน...
😻 บางคนเหมือน รถเข็น จำต้องมีคนคอยเข็ญจึงจะเคลื่อน
😻 บางคนเหมือน เรือแคนู จำต้องมีคนพาย
😻 บางคนเหมือน ว่าว ถ้าไม่มีคนถือสายป่าย ก็จะลอยจากไป
😻 บางคนเหมือน ลูกแมว จะพอใจยิ่งขึ้นถ้าได้รับการลูบไล้
😻 บางคนเหมือน รถลาก จะใช้ประโยชน์ไม่ได้นอกเสียจากจะมีการลาก
😻 บางคนเหมือน ลูกบอลลูน อัดแน่นด้วยลม และคอยแต่จะลอยขึ้น
เพราะความแตกต่างนี้ ทำให้เราในฐานะครูปฐมวัยที่ต้องจัดทำสื่อการสอนให้สอดคล้องกับเด็กและสามารถนำไปใช้กับเด็กได้อย่างถูกต้องและตรงจุด
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เป็นการเรียนรู้ที่เด็กได้พบหรือสัมผัสกับประสบการณ์ จากสภาพแวดล้อมโดยการกระทำ การรับรู้ การพบเห็นด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม เป็นการเรียนรู้จากการบอกเล่าของบุคคลต่าง ๆ คนใกล้ชิด
ญาติผู้ใหญ่ หรือจากหนังสือ การสังเกตจากตัวแบบ การเลียนแบบ การบอกเล่าให้ฟังจะทำให้เด็กสร้างภาพขึ้นในสมองของตนแทนการเห็นของจริง ธรรมชาติของการเรียนรู้การเรียนรู้เป็นกระบวนการซึ่งมีขึ้นตอน ดังนี้
😻 มีสิ่งเร้ามาเร้าผู้เรียน
😻 ผู้เรียนรับรู้สิ่งเร้า
😻 ผู้เรียนแปลความหมายของสิ่งเร้าที่รับรู้
😻 ผู้เรียนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้และแปลความหมาย
😻 ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น
ธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยรูปแบบของพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและเสาะแสวงหาประสบการณ์ จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเกือบทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ หากแต่สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตภาพที่แวดล้อมรอบตัวเด็กนั่นเอง ที่ทำให้อัตราการพัฒนาช้า-เร็วแตกต่างกัน
การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
ลักษณะที่ 1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ
ลักษณะที่ 2 เป็นการเรียนรู้จากการช่วยเหลือจากพ่อแม่
ลักษณะที่ 3 การเรียนรู้จากโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมอย่างมีระบบ
รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็นความต่างความ
เหมือน สี ขนาด รูปร่าง และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงาน
ประสานสัมพันธ์ของสายตาและกล้ามเนื้อมือ
2. การเรียนรู้โดยการได้ยิน ได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความ
เหมือนความต่างของเสียงได้
3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของกล้ามเนื้อ
กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงชีวิตของแต่ละคน และช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี โดยพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กสามารถพัฒนาได้สูงสุด เป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์ และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่งกระตุ้น (Sensitive)
เมื่อเด็กอายุมากขึ้นเด็กจะมีพัฒนาการในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วย โดยเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 - 6 ปีจะมีวิธีเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่ากลุ่มอายุ 2 - 3 ปี สังเกตได้จากการสัมผัสสิ่งต่างๆแล้ว เด็กใช้การคิด การจินตนาการ การค้นคว้าและลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาสิ่งที่ตนอยากเห็นอยากรู้
ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 2-3 ปี
😻 มีปฏิกิริยาโต้ตอบง่าย ๆ ได้
😻 ดูหนังสือภาพแล้วเรียกชื่อสิ่งที่ดูหรือเห็นจากภาพได้
😻 จับคู่สิ่งของได้ โดยรู้ความสัมพันธ์กัน
😻 เริ่มเรียนรู้ขนาดใหญ่-เล็ก
😻 จับภาพหน้าตาส่วนต่าง ๆ ของตนได้ (ภาพหรือส่องกระจก)
😻 บอกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
😻 เริ่มชอบเลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่
😻 มีช่วงความสนใจระยะสั้น ๆ เริ่มเรียนรู้และเริ่มเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่ชี้แนะ/บอก
😻 เริ่มเข้าใจส่วนย่อย ๆ และส่วนรวมของสิ่งที่นำมารวมกัน
2. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 3-4 ปี
😻 สามารถจำสี จับคู่สีเหมือนกันได้มากกว่า 3 สี
😻 สามารถเข้าใจเปรียบเทียบขนาด ใหญ่ กลาง เล็กได้
😻 วาดภาพอย่างมีความหมาย และบอกชื่อภาพได้
😻 ชอบซักถามว่า ทำไม . . . .
😻 บอกชื่อ-นามสกุลได้ เมื่อได้รับการสอนให้จำ
😻 มีความสนใจช่วงระยะสั้น ๆ พยายามเรียนรู้และเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่บอก/สอน และอาจหยุดความสนใจได้ง่าย ๆ
😻 มีความเข้าใจเรื่องความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ง่าย ๆ
😻 เริ่มเข้าใจความหมายของเวลาคร่าว ๆ เช่น เมื่อเช้านี้ เมื่อวานนี้เป็นต้น
3.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 4-5 ปี
😻 สามารถพูดตามเป็นคำสัมผัส ท่องคำสัมผัส และสนุกกับคำที่ออกเสียงซ้ำๆ สัมผัสเสียงและจังหวะ
😻 ชี้บอกชื่อสีได้ตั้งแต่ 4-6 สี
😻 จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกัน หรือสิ่งของประเภทเดียวกันได้
😻 วาดภาพคนโดยมีส่วนต่าง ๆ ของคน ตั้งแต่ 2-6 ส่วน
😻 และเปรียบเทียบส่วนต่าง ๆของร่างกายได้
😻 วาดภาพและบอกชื่อภาพที่วาดได้
😻 บอกชื่อสถานที่ที่บ้านตนตั้งอยู่ได้
😻 มีช่วงความสนใจยาวขึ้น
😻 มีความสนใจในความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ดีขึ้น
4.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 5-6 ปี
😻 สามารถเล่าทวนเรื่องที่ได้ยินให้ฟังได้
😻 ออกชื่อตัวพยัญชนะ ตัวเลขที่ตนจำได้ อ่านได้
😻 นับเลข เข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ตัวเลขถึง 10
😻 จัดประเภท แยกสิ่งของที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันได้
😻 รู้จักความหมายของการบอกเวลาได้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
😻 จับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือได้ถนัด
😻 มีความสนใจมากขึ้น อดทนเพราะอยากรู้จริง
😻 มีความเข้าใจในความคิดรวบยอดดี เข้าใจเหตุการณ์ เหตุ และผล ของสิ่งที่เกิดขึ้นได้
แนวคิดของการเรียนรู้
การเรียนรู้
กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของนักจิตวิทยา
1.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ BLOOM (BLOOM'S TAXONOMY)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็นสามด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ โดยนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives ซึ่งถ้าจำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเราแบ่งเป็นด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย ดังนี้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ bloom's taxonomy |
ด้านร่างกาย |
ด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคม |
ด้านสติปัญญา |
1.1 พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
คือ พฤติกรรมด้านสติปัญญาและความคิด โดยได้แบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ ประกอบด้วย
😻ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆ และระลึกเรื่องราวนั้นๆ ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
😻ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้ ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
😻การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
😻การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้อย่างชัดเจน
😻การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน
😻การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัย หรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป
1.2 จิตพิสัย (Affective Domain) (พฤติกรรมด้านจิตใจ)
คือ พฤติกรรมด้านจิตใจจะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อยๆ 5 ระดับ ได้แก่
😻การรับรู้
😻การตอบสนอง
😻การเกิดค่านิยม
😻การจัดระบบ
😻บุคลิกภาพ
1.3 ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
คือ พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
😻การรับรู้
😻กระทำตามแบบ
😻การหาความถูกต้อง
😻การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ
😻การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
2.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (MAYOR)
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์มีความจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย
😻 พฤติกรรมควรชี้ชัดและสังเกตได้
😻 เงื่อนไขพฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
😻 มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
3.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (BRUNER)
😻 ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
😻 ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
😻 ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ
😻 ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
😻 ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง ซึ่งเนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
4.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (TYLOR)
4.1ความต่อเนื่อง (continuity) คือ ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
4.2การจัดช่วงลำดับ (sequence) คือ การจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
4.3บูรณาการ (integration) คือ การจัดประสบการณ์ควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
5. ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (GAGNE)
😻 การจูงใจ (Motivation Phase)
😻 การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase)
😻 การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase)
😻 ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
😻 ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
😻 การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
😻 การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase )
😻 การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase)
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย เป็นวัยพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การพัฒนาของชีวิต เด็กจะเริ่มพัฒนาลักษณะความเป็นตัวของตัวเอง ให้ความสนใจในสิ่งรอบตัว และชอบตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ เด็กจะพยายามและต้องการช่วยเหลือตนเอง
ความหมายของพัฒนาการ
😻 วอร์ทแมน และลอฟทัส (Wortrman and Loftus, 1992,) อธิบายว่า พัฒนาการเป็นแบบแผนการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของบุคคลนับตั้งแต่กำเนิดชีวิตจนถึงวัยชรา
😻 รักตวรรณ ศิริถาพร (2548) ได้กล่าวว่า พัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงกันไปในทุก ๆ ด้าน ของมนุษย์ นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งตายซึ่งมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่แน่นอน และสามารถทำนายได้
😻 กระบวนการของการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบระเบียบ ต่อเนื่องตามลำดับขั้นนำไปสู่การพัฒนาทางคุณภาพ พัฒนาการของมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติบโต ควบคู่กับการพัฒนาทางคุณภาพ อารมณ์ สติปัญญาและสังคม
ลักษณะของพัฒนาการ
ลักษณะของพัฒนาการ คือการเข้าใจวิถีชีวิตในวัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 6 ปี
😻 พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
😻 การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
😻 การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
😻 พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (Cephalo - caudal direction)
😻 พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป (Proximo distal direction)
😻 พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
😻 อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน
😻 ความก้าวหน้าของพัฒนาการ
😻 พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กัน
😻 พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
😻 พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
😻 พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1. บุคคลภายในครอบครัว ประกอบด้วยพ่อ แม่พี่น้อง หรือญาติใกล้ชิดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. บุคคลภายนอกครอบครัว ประกอบด้วยผู้ดูแลเด็ก ครู เพื่อน ๆ ตลอดจนอิทธิพลของสังคมโดยผ่านสื่อต่าง ๆ
พัชรี สวนแก้ว (2536) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กไว้ดังนี้
😻 อาหาร
😻 อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด
😻 เชื้อชาติ
😻 เพศ
😻 ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
😻 สติปัญญา
😻 การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ
😻 ตำแหน่งในครอบครัว
การจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1. กิจกรรมที่จัดควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ
2. กิจกรรมที่จัดควรมีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
3. กิจกรรมที่จัดควรมีความสมดุล
4. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย
5. กิจกรรมที่จัดควรเน้นให้มีสื่อของจริงให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต
นอกจากนี้การจัดกิจกรรมควรยึดหลักพัฒนาการและคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย ตามสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2550 ดังนี้
ลักษณะการจัดกิจกรรมผ่านการเล่น
😻 กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ภายในห้องเรียน
😻 กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ
😻 กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้พัฒนาทักษะด้านร่างกาย ฝึกกระบวนการทำงานของสมอง
😻 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการ ทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สังเกต คิด แก้ปัญหาใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติ
😻 กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ
😻 เกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญามีกฎเกณฑ์กติกาง่าย ๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้
การจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
ลักษณะพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย
😻 พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 0 – 1 ปี เด็กวัยนี้ในช่วงแรกเกิด - 3 เดือน จะยังไม่สนใจกับการเล่นมากนัก แต่เด็กจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสการมองเห็นและได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมีเสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสายตา ฝึกการมองเห็นและการฟังได้สังเกตความเคลื่อนไหว
😻 พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 1 - 2 ปี ปีเด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้างแม้จะไม่มั่นคงนัก แต่ก็ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งทำให้ได้เรียนรู้ถึงระยะทาง และฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่าง ๆ
😻 พฤติกรรการเล่นของเด็กวัย 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดี เพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ชอบเล่นที่ออกแรงมากๆ
😻 พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 4-6 ปี เด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น มีการเคลื่อนไหวของร่างกายคล่องแคล่วขึ้นชอบเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนาม
การจัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
😻 กิจกรรมการเล่นของเล่นสำหรับเด็กวัย 0 - 1 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการกระตุ้นประสาทสัมผัสให้เกิดการรับรู้และตอบสนองสิ่งเร้ารอบตัวจากผู้อยู่ใกล้ชิด
😻 กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็ก 1 - 2 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ และมีการกระทำซ้ำ ๆ แบบลองผิดลองถูกกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย กิจกรรมการเล่นที่ควรจัดให้การเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ
😻 กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการสังเกต เลียนแบบและซักถามทำความรู้จักกับสิ่งต่างๆ รอบตัวจากผู้ใหญ่
😻 กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 4 - 6 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ภาษาสื่อความหมายความเข้าใจกับผู้อื่น และการใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ
ประโยชน์ของการจัดกิจกรรม
เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ต้องการออกมาสัมผัสกับโลกภายนอกมากขึ้นเริ่มมีสังคมนอกบ้าน เด็กจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น และมักมีจินตนาการ ของตนเอง เด็กจะเรียนรู้ภาษาและคำพูดได้เร็ว ชอบเลียนแบบในขณะเดียวกันก็ต้องการอิสระ อยากพึ่งตนเอง และต้องการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็กปฐมวัยจึง มีความสำคัญมาก
* ข้อมูลที่ได้นำมาจาก https://namphetchpiyakong19.blogspot.com/2018/08/2.html *
ประเมินอาจารย์ : ครั้งในอ.บาสทำหน้าที่ที่ปรึกษาดีมาก ในเรื่องของรับน้องและการลงทะเบียน จ่ายค่าเทอมต่างๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆนักศึกษายังคง กล้าถามและปรึกษาปัญหาต่างๆกับอ.บาส แต่พอเข้าสู่เนื้อหาการเรียน ก็มีบางส่วนที่ตั้งหน้าตั้งตาจด บางส่วนก็หลับบ้าง เล่แต่เวลาอ.บาสต้องการคำตอบเกี่ยวกับเนื้อหา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆนักศึกษายังคง กล้าถามและปรึกษาปัญหาต่างๆกับอ.บาส แต่พอเข้าสู่เนื้อหาการเรียน ก็มีบางส่วนที่ตั้งหน้าตั้งตาจด บางส่วนก็หลับบ้าง เล่แต่เวลาอ.บาสต้องการคำตอบเกี่ยวกับเนื้อหา
ประเมินตัวเอง : สามารถเข้าเรียนได้เร๋วกว่าคราวก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น